ยินดีต้อนรับ

ลองอ่านดูนะเพื่อเจอสิ่งดี บ้าง


ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

รูปของคนที่สำคัญในชีวิต

รูปของคนที่สำคัญในชีวิต

กลุ่มเพื่อนของเรานะ

การบ้าน

บทที่ 1

1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

- เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่น ๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การนำกล้วยหอมที่เหลือมาผลิตตามกรรมวิธีแล้วได้เค้กกล้วยหอมออกมา


- สารสนเทศ หมายถึงหมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์

- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์ป้อนทางแป้นพิมพ์ การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(bar code)การประมวลผล เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บมาได้ เข้าสู่กระบวนการประมวลผลตามต้องการเช่น การคำนวน การเรียงลำดับข้อมูล แยกเป็นกลุ่ม ฯลฯ

- ข้อมูล หมายถึงข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

-ฐานข้อมูล หมายถึง ประกอบด้วยกลุ่มการจัดการข้อมูลสำหรับผู้ใช้หนึ่งคนหรือหลายๆ คน โดยทั่วไปมักอยู่ในรูปแบบดิจิทัล วิธีการแบ่งชนิดของฐานข้อมูลได้รูปแบบหนึ่งคือแบ่งตามชนิดของเนื้อหา เช่น บรรณานุกรม, เอกสารตัวอักษร, สถิติ โดยฐานข้อมูลดิจิทัลจะถูกจัดการโดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลซึ่งเก็บเนื้อหาฐานข้อมูล โดยอนุญาตให้สร้าง, ดูแลรักษา, ค้นหา และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่าง

2.1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลเบื้องต้น เป็นต้น

2.2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่นการควบคุมวันขาดลามาสายของพนักงานต่าง ๆ เป็นต้น

2.3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ ผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น การให้คะแนนกับพนักงานเพื่อตัดสินใจให้โบนัสเป็นไตรมาส เป็นต้น

2.4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ ผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในการจัดการและวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่นการวางแผนการตลาด การจัดการควบคุมสินค้า เป็นต้น

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่าง

3.1. ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรก ๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง เช่นมีคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในความจำแทนบุคลากร

3.2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร เช่น บันทึกงานตามไตรมาส เพื่อให้ผู้บริหารวิเคราะห์และตัดสินใจได้ง่าย

3.3. ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ เช่นวางแผนงานและกลยุทธ์ในการทำงาน

3.4. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการรวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ เช่น การทำงานของโน้ตบุค การใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น การโอนเงิน จ่ายค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น

บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ได้แก่

แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) แทร็กบอล (Track Ball) จอยสติก (Joy Stick) เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner ) เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง(Optical Character Reader: OCR)เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) ปากกาแสง (Light Pen) จอสัมผัส (Touch Screens) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) ไมโครโฟน (Microphone)

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผลโดยมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนควบคุม (Control Unit) และส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ(Arithmetic and Logic Unit) ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้

หน่วยควบคุม (Control Unit) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างรวมทั้งตัวเองด้วย ให้เป็นไปตามคำสั่ง เช่น ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลอ่านข้อมูลเข้าหรือให้หน่วยคำนวณ ทำการคำนวณ โดยคำสั่งนั้นจะได้รับจากหน่วยความจำและหน่วยควบคุมจะแปลความหมายแล้วส่งคำสั่งนั้นไปให้หน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายในส่วนควบคุมประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ Address Word เป็นส่วนที่จะเก็บตำแหน่งของคำสั่งที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ CPUสามารถติดต่อกับคำสั่งเหล่านี้ได้ Instruction Word เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งที่หน่วยควบคุมใช้ในการจัดการ ในชุดของชุดของคำสั่งนี้จะมีรายละเอียดที่กำหนดขั้นตอนและขอบเขต การทำงานของหน่วยควบคุมภายใต้ชุดสั่งนั้นๆ จะมีชุดของคำสั่งที่จะกำหนดรายละเอียดของการทำงานของส่วนอื่นต่อไป CPU ที่แตกต่างกันจะมี Instruction Set ที่แตกต่างกัน

หน่วยคำนวณและเปรียบเทียบ (Arithmatic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่สำหรับการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตลอดทั้งการเปรียบเทียบข้อมูล เช่น เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า รวมทั้งการประมวลอื่น ๆ ซึ่งจะกำหนด โดยคำสั่งจากหน่วยควบคุมภายในหน่วยคำนวณและเปรียบเทียบจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ เรียกว่า Register ที่ทำหน้าที่เหมือนหน่วยความจำชั่วคราวที่เก็บค่าและข้อมูลต่าง ที่นำมาคำนวณหรือประมวลผล
อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

อุปกรณ์แสดงผล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้
1.จอภาพ (Monitor)
2. เครื่องพิมพ์ (Printer)
2.1 เครื่องพิมพ์ประเภทกระทบ : เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุดเครื่องพิมพ์อักษรคุณภาพ เครื่องพิมพ์แบบลูกโซ่เครื่องพิมพ์แบบใช้ดรัม
2.2 เครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ : เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกเครื่องพิมพ์แบบใช้แสงเลเซอร์
3.เครื่องวาดรูปพลอตเตอร์
4.เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง ลำโพง

บทที่ 3 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศประกอบไปกี่ส่วน คืออะไรบ้าง ระบบสารสนเทศประกอบไปด้วย 5 ส่วน คือ
1.ข้อมูล 2. การจัดเก็บ 3. เครื่องมือที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและประมวลผล4. การประมวลผล 5. สารสนเทศ

ปัจจุบันนิยมประมวลผลด้วยอะไรบ้าง นศ.คิดว่าเพราะอะไร จงให้เหตุผล
การประมวลผลข้อมูลด้วยมือ เป็นวิธีการที่ใช้กับข้อมูลไม่มากนัก

การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ เป็นการประมวลผลข้อมูลโดยการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการทำงานสะดวก ถูกต้องรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เหมาะที่จะใช้เกี่ยวกับ งานการเงิน สถิติและงานบัญชี เป็นต้น

ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์ แบ่งได้ 3วิธี ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล 2. ขั้นตอนการประมวลผล 3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์
หน่วยที่เล็กที่สุดในการมองของคอมพิวเตอร์
การมองข้อมูลของคอมพิวเตอร์ บิท (Bit) คือค่าที่เล็กที่สุดที่คอมพิวเตอร์รู้จัก

จงเรียงลำดับโครงสร้างขอ้มูลของการมองของผู้ใช้งานจากขนาดเล็กไปใหญ่

การมองข้อมูลของผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์มองข้อมูลในลักษณะบิทและไบต์ ดังที่กล่าวมาแล้ว ในขณะที่ผู้ใช้งานมองข้อมูลในลักษณะโครงสร้างข้อมูลดังนี้

1. ตัวอักขระ(Character) 2 .เขตข้อมูล(field)หรือ รายการ(Item) 3. ระเบียน(Record) 4. แฟ้มข้อมูล(File)

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
— 1.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

- ข้อดี คือ
— 1. ราคาถูก มีสายขายโดยทั่วไป

— ข้อเสีย คือ

— Impulse Noise เกิดจากมีสัญญาณรบกวนที่มีพลังงานสูงมารบกวนสัญญาณข้อมูล เช่น ขณะดูโทรทัศน์เมื่อมีฝนฟ้าคะนองสัญญาณภาพจะไม่ชัดเจน
— 2. Thermal Noise เกิดมีความร้อนเกิดขึ้นในสายส่งข้อมูล เนื่องจากใช้สายไปนาน ๆ อิเล็กตรอนเคลื่อนผ่านลวดทองแดง ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าและความร้อนมารบกวนสัญญาณข้อมูล
— 3. Attenuation เกิดสัญญาณข้อมูลอ่อนกำลังลงเพราะส่งไปในระยะทางไกลทำให้สัญญาณสูญเสียรูปร่างเดิม
— 4. Cross Talk เกิดจากมีสายส่งสัญญาณหลายเส้นส่งสัญญาณไฟฟ้ามารบกวนกับสายส่งข้างเคียงเนื่องจากใช้สายคุณภาพไม่ดี หรือไม่มีฉนวนหุ้มสายส่ง เช่น เหตุการณ์เมื่อคุยโทรศัพท์และมีสายซ้อน
— 5. Delay Distortion เนื่องจากองค์ประกอบย่อยสัญญาณที่มีความถี่ต่างกันเคลื่อนที่เร็วไม่เท่ากัน เมื่อเดินทางถึงปลายทางแล้วมาเร็วช้าไม่เท่ากันบางสัญญาณมาช้าทำให้สัญญาณองค์ประกอบย่อยเสียรูปร่างไป
— 6. Media Failure สายส่งอาจขาดหรือชำรุด

— 2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
— ข้อดี คือ
— ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย

— ข้อเสีย
— มีราคาสูง ถ้าดินฟ้าอากาศปิดหรือมีเมฆมากก้อจะรับสัญญาณไม่ได้หรือไม่มีคุณภาพ



— 3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
ระบบเครือข่ายPan
เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)PANPAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group

ข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ1. สะดวกต่อการใช้งาน2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว3. มีการรับรองเครือข่าย4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4. ราคาแพง

SAN (Storage Area Network)
SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ ท่านสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

SAN ให้ความสะดวกแก่ท่านในการจัดรูปแบบของการวางอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการมุ่งเน้นเรื่องของการเชื่อมต่อ ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 อย่างนี้

SAN สามารถแก้หรือลดปัญหาความล่าช้าที่มาจากการตอบสนองการร้องขอข้อมูลจากไคลเอนต์บนเครือข่ายได้เป็นอย่างมาก ช่วยให้ไคลเอนต์บนเครือข่ายได้รับข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บในปริมาณสูงต่อครั้ง ช่วยลดเวลาการประมวลผลของไคลเอนต์ รวมทั้งให้การสนับสนุนการทำ Backup ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถทำสำรองข้อมูลที่อยู่ห่างไกลจากศูนย์ข้อมูลได้จำนวนมากด้วยขนาดที่ไม่จำกัดระยะทาง ด้วยการเชื่อมต่อทางสายใยแก้วนำแสงจะช่วยให้ท่านสามารถวางแผนการทำสำรองข้อมูล หรือโยกย้ายถ่ายเทข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งที่อยู่ห่างไกลกันมาก ในกรณีที่เกิดปัญหาทางภัยจากธรรมชาติ

เนื่องจาก SAN มิใช่ระบบฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่เป็นระบบควบคุมดูแลการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ไปยุ่งกับการจัด Configure ของระบบแลน ดังนั้นมันจึงให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการทุกประเภท ทุกแบบ และสามารถให้บริการ ไม่เกี่ยงแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาบนระบบแลนไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับเมนเฟรม

ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN

1. SAN ไม่ใช่ระบบจัดเก็บข้อมูลภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์

SAN จะติดตั้งอยู่หลังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะ มีความจุเท่าใด หรือบนเครือข่ายจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์กี่ตัว ยังไม่ถือว่าเป็นระบบ SAN ระบบ SAN เป็นระบบที่สามารถขยายขีดความสามารถ รวมทั้งขอบข่ายการทำงานที่สูง เนื่องจากในทางทฤษฎีแล้ว SAN สามารถรองรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้นับพัน แต่จะมีข้อจำกัดที่จำนวนพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของฮับ และ สวิตซ์ รวมทั้งเงินทุนในการจัดทำระบบ

2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่าย

การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรือ อินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบแลน จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก workstation ต่างๆบนแลน จะต้องเข้ามาขอแบ่งใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบแลนที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง